“สัญลักข์” ตัดใจทิ้งเก้าอี้เอ็มดี บขส. คาดเปิดทางคนใหม่
นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) หรือ เอ็มดี บขส. เปิดเผยว่า ได้ยื่นหนังสือลาออกให้คณะกรรมการ (บอร์ด) บขส. ที่มีนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานบอร์ด บขส. ได้พิจารณาเห็นชอบอนุมัติการลาออก มีผลตั้งแต่วันที่ 9 พ.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. นี้
เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัว ยืนยันว่าไม่มีการถูกกดดันจากการเมือง ตามขั้นตอนหลังจากลาออกแล้ว บอร์ดจะแต่งตั้งรักษาการเอ็มดี บขส. ขึ้นมา เพื่อให้การทำงานต่อเนื่อง อาจจะเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใดคนหนึ่ง หรือผู้ที่บอร์ดมองว่าเหมาะสมเข้ามาดำรงตำแหน่งรักษาการแทน ก่อนเข้าสู่กระบวนการสรรหาเอ็มดี บขส. คนใหม่ เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนองค์กรต่อไป โดยตนไม่มีงานใดจะฝากฝังให้สานต่อ ขอให้เป็นเรื่องของผู้เกี่ยวข้องที่จะพิจารณากันไป
นายสัญลักข์ เริ่มดำรงตำแหน่งเอ็มดี บขส. เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 64 สมัยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็น รมว.คมนาคม จะสิ้นสุดสัญญาจ้างวันที่ 13 ม.ค. 68 มีสัญญาจ้าง 4 ปี แต่ลาออกก่อนครบวาระ มีอายุการทำงาน 2 ปี 10 เดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นการปิดฉากบทบาทเอ็มดี บขส. คนที่ 13 ไปโดยปริยาย
ที่ผ่านมา นายสัญลักข์เป็นผู้ที่ทุ่มเททำงาน เพื่อ บขสคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. โดยวางเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน และดำเนินการตามนโยบายกระทรวงคมนาคม สานต่องานและผลักดันโครงการสำคัญๆ อัธยาสัยดีเป็นที่รักของพนักงาน และให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลต่างๆ ด้านการประชาสัมพันธ์เป็นอย่างดี ไม่มีท่าทีว่าจะลาออกก่อนครบวาระ การลาออกครั้งนี้ จึงคาดว่าน่าจะมาจากปัญหาทางการเมือง เพื่อเปิดทางให้สรรหาเอ็มดีคนใหม่
สำหรับโครงการต่างๆ นายสัญลักข์ ดำเนินการและพยายามผลักดันแต่ยังไม่แล้วเสร็จตามแผน อาทิ การจัดหารถโดยสารใหม่ 332 คัน วงเงินประมาณ 1,596 ล้านบาท แบ่งเป็น รถโดยสาร 257 คัน วงเงิน 1,000 กว่าล้านบาท ประกอบด้วย รถโดยสารที่ใช้น้ำมันดีเซล 185 คัน และรถโดยสารที่ใช้พลังงานไฟฟ้า (อีวี) 72 คัน เพื่อนำมาให้บริการทดแทนรถโดยสารของ บขส. ที่มีอยู่ 151 คัน จะทยอยปลดระวางในทุกปี และมาแทนรถเช่าที่มี 93 คัน ทยอยหมดสัญญาในปี 67-68
แผนจัดรถโดยสาร 75 คัน วงเงิน 596 ล้านบาท ได้แก่ 1.รถโดยสารขนาดใหญ่ใช้พลังงานไฟฟ้า 21 คัน วงเงิน 228 ล้านบาท สัญญาเช่า 5 ปี และ 2.รถโดยสารขนาดเล็กใช้พลังงานไฟฟ้า 54 คัน วงเงิน 368 ล้านบาท สัญญาเช่า 5 ปี ซึ่งตั้งเป้ารับรถช่วง พ.ค.-มิ.ย. 67
รวมทั้งแผนให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาที่ดินในกรรมสิทธิ์ของ บขส. 4 แห่ง พื้นที่ขนาดรวม 30 ไร่ ประกอบด้วย 1.ที่ดินบริเวณแยกไฟฉาย พื้นที่ 3 ไร่ 2.สถานีเดินรถชลบุรี จ.ชลบุรี พื้นที่ 5 ไร่ 3.สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) พื้นที่ 15 ไร่ และ 4.สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) พื้นที่ 7 ไร่ เพื่อหารายได้เพิ่ม และชดเชยรายได้ค่าโดยสารที่หายไปจากการเดินรถ