“วราวุธ” โชว์นโยบาย 5X5 แก้วิกฤตประชากรบนเวที UN ปลื้มได้รับผลตอบรับดี
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 (เวลา 16.00 นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ของวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ตามเวลาท้องถิ่น) ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) และคณะผู้แทนไทย ซึ่งอยู่ระหว่างภารกิจการประชุมคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 (CPD 57) ระหว่างวันที่ 29 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2567
โดยเปิดเผยว่า จบลงแล้วสำหรับการประชุมคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 (CPD 57) ซึ่งการนำเสนอนนโยบาย 5×5 ฝ่าวิกฤติประชากรของประเทศไทยได้รับการตอบรับอย่างดีจากหลายภูมิภาค หรือแม้แต่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของเราด้วยกันเอง
ซึ่งตัวเองได้มีโอกาสพูดคุยกับรัฐมนตรีด้านสังคมของประเทศอังกฤษ และพูดคุยกับองค์กรของสหประชาชาติ อาทิ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) หน่วยงานที่ดูแลเรื่องการพัฒนาประชากรโดยตรง และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) หน่วยงานสำคัญในการประสานงานเรื่องความช่วยเหลือด้านการพัฒนาของสหประชาชาติ ซึ่งทุกคนทุกฝ่ายให้ความสนใจกับนโยบาย 5×5 ฝ่าวิกฤติประชากร ของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง
การเดินทางมาครั้งนี้ เราประสบความสำเร็จในการที่เราได้แสดงให้ทั้งโลกได้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาเรื่องโครงสร้างประชากรนั้น ต้องอาศัยหลักการอย่างไรบ้าง หรือแม้แต่รัฐมนตรีจากประเทศลาตินอเมริกา ได้มาสอบถามเกี่ยวกับนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสมรสเท่าเทียม แสดงให้เห็นว่า ทั่วโลกจับตามองการพัฒนาทางด้านสังคมของประเทศไทย และเวทีสหประชาชาติครั้งนี้เป็นเวทีที่เราได้แสดงให้ทุกคนจากทุกภูมิภาคทั่วโลก ได้เห็นว่าเราได้ทำอะไรไปมากน้อยแค่ไหน และกำลังจะทำอะไร เป็นตัวอย่างให้กับอีกหลายๆ ประเทศ มาร่วมเป็นกำลังใจให้กับทีมงานของทีมไทยแลนด์ร่วมกัน
รู้จัก "นโยบาย 5X5"
นโยบาย 5X5 แก้วิกฤตประชากรของประเทศไทย ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) และคณะผู้แทนไทย นำไปเสนอบนเวทีสหประชาชาติ มีรายละเอียดดังนี้
นโยบายที่หนึ่ง : เสริมพลังวัยแรงงาน ให้ตั้งตัว ดูแลตัวเองและครอบครัวได้
- เพิ่มโอกาสให้วัยทำงานพัฒนาทักษะและเสริมศักยภาพ (Reskill/Upskill) เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการประกอบอาชีพของแรงงานนอกระบบ และบูรณาการฐานข้อมูลด้านตลาดแรงงาน (ทั้งอุปสงค์และอุปทาน)
- ส่งเสริมการมีงานทำและรายได้ด้วยการกระจายงานสู่พื้นที่และชุมชน
- ส่งเสริมการออม สร้างแรงจูงใจให้ประชากรในวัยทำงานออมเพื่ออนาคตและเตรียมการเกษียณ (ออมภาคบังคับ)
- ส่งเสริมคุณภาพวัยทำงาน ด้วยการปรับสถานที่ทำงานให้เป็นสถานประกอบการที่คำนึงถึงความสุข และส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร และเพิ่มสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
- ส่งเสริมสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัว เช่น สร้างแรงจูงใจด้านภาษีหรือการยกย่องทางสังคมให้แก่นายจ้างที่จัดสวัสดิการดูแลเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุให้แก่ลูกจ้าง การทำงานแบบยืดหยุ่น ส่งเสริมบทบาทชายหญิงในการร่วมกันดูแลครอบครัว
นโยบายที่สอง: เพิ่มคุณภาพ-ผลิตภาพของเด็กและเยาวชน
- ส่งเสริมสถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษาให้เข้มแข็ง
- ดูแลสุขภาพทางกายและจิตใจของเด็กและแม่ ตั้งแต่ตั้งครรภ์
- มีศูนย์เด็กเล็กใกล้บ้าน มีมาตรฐาน รับเด็กอายุน้อยลงมีความยืดหยุ่นชุมชนช่วยจัดการได้
- การพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะวิชาชีพตามวัย สอดคล้องกับบริบทสังคมที่เป็นพลวัต
- การใช้เทคโนโลนีและนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างวัย
นโยบายที่สาม : สร้างพลังผู้สูงอายุ ผ่อนหนักให้เป็นเบา
- มุ่งการป้องกันโรคมากกว่ารักษาโรค เสริมการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ
- ขยายโอกาสทางเศรษฐกิจให้ผู้สูงอายุ ขยายอายุเกษียณ ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ พัฒนาทักษะที่จำเป็น ส่งเสริมความรอบรู้ด้านดิจิทัลเทคโนโลยี (Digital Literacy) ให้ผู้สูงอายุ และลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของผู้สูงอายุ
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เช่น จัดระบบบริบาลผู้สูงอายุในชุมชน พัฒนาระบบคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน โดยชุมชน ส่งเสริมให้มีการเกื้อหนุนและสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้สูงอายุกับสมาชิกในครอบครัวและชุมชม
- ส่งเสริมให้มีสภาพแวดล้อม ทั้งภายในบ้าน รอบบ้าน และในชุมชนที่เอื้อต่อการทำกิจวัตรประจำวัน การสัญจร และการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุ
- ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในทุกมิติเพื่อให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการอย่างครบวงจรกับผู้สูงอายุ
นโยบายที่สี่ : เพิ่มโอกาสและเสริมสร้างคุณค่าของคนพิการ
- สนับสนุนและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการตามศักยภาพและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้มีความหลากหลายและเหมาะสมกับคนพิการ ตลอดจนเพิ่มการจ้างงานคนพิการในทุกภาคส่วน โดยส่งเสริมศักยภาพคนพิการและทำให้เกิดตลาดแรงงานสำหรับคนพิการ รวมทั้งปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสมต่อการทำงาน
- ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่ครบถ้วนของคนพิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม สร้างทัศนคติที่เหมาะสมของชุมชนและครอบครัวในการอยู่ร่วมกันและดูแลคนพิการ เช่น ระบบการตรวจสอบสิทธิที่มีประสิทธิภาพ หน่วยบริการรักษาพยาบาลเคลื่อนที่ การให้ความช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน
- ป้องกันความพิการแต่กำเนิดและความพิการทุกช่วงวัย (Prevention) รวมทั้งฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและทางใจ (Rehabilitation)
- ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้คนพิการดำเนินชีวิตได้อย่างอิสระ เช่น ระบบขนส่ง สิ่งอำนวยความสะดวก โดยใช้หลักการออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่มวัย (Universal Design) รวมทั้งใช้ระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยในการดำเนินชีวิต
- จัดทำฐานข้อมูลและพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อประโยชน์ในการหางานและการจ้างงาน
นโยบายที่ห้า : สร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความมั่นคงของครอบครัว
- พัฒนาระบบสวัสดิการที่เหมาะสมและทั่วถึงโดยรัฐ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเป็นหลักประกันในยามที่เผชิญกับวิกฤต
- ชุมชนน่าอยู่สำหรับประชากรทุกกลุ่มทุกวัย “ปลอดภัย ปลอดพิษ เป็นมิตรและเอื้ออาทรต่อทุกคน”
- บ้านสำหรับคนทุกช่วงวัย ทุกกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงได้ อยู่อย่างปลอดภัย
- ส่งเสริมเศรษฐกิจครัวเรือน เข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างเท่าเทียมสร้างกลไกค้ำประกันเพื่อเสริมสภาพคล่องให้ครอบครัวบนหลักการพอเพียงและมีวินัย เสริมสร้างความรู้ในการบริหารการเงินสำหรับครัวเรือน
- ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เน้นการเปลี่ยนพฤติกรรมของประชากรในการหยุดทำร้ายธรรมชาติ ส่งเสริม “Green Economy”
ตรวจหวยงวดนี้ – ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ลอตเตอรี่ 2/5/67
ประกาศเตือนฉบับที่ 3 “พายุฤดูร้อน” 32 จังหวัดเตรียมรับมือ 3-4 พ.ค.
อาหารแก้อ่อนเพลีย-เหนื่อยง่าย เติมความสดชื่น จากการขาดวิตามินบางชนิด